ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซ์กระทรวงการต่างประเทศ
วีซ่าเพื่อการเยี่ยมเยียน (วีซ่าเชงเกน)
สำหรับผู้เดินทางที่ประสงค์จะไปเยี่ยมสมาชิกในครอบครัว เพื่อนหรือคนรู้จักที่อาศัยอยู่ในเยอรมนีต้องยื่นคำร้องขอวีซ่าเพื่อการเยี่ยมเยียน ไม่ใช่ วีซ่าท่องเที่ยว
สำหรับผู้เดินทางที่ประสงค์จะไปเยี่ยมสมาชิกในครอบครัว เพื่อนหรือคนรู้จักที่อาศัยอยู่ในเยอรมนีต้องยื่นคำร้องขอวีซ่าเพื่อการเยี่ยมเยียน ไม่ใช่ วีซ่าท่องเที่ยว
เอกสารที่ท่านต้องแสดงในการยื่นคำร้องขอวีซ่า
ในการยื่นคำร้องขอวีซ่า ท่านต้องแสดงเอกสาร/หลักฐานดังต่อไปนี้
- หนังสือเดินทางฉบับจริงที่ยังมีอายุการใช้
โปรดตรวจสอบว่าหนังสือเดินทางของท่าน
- มีหน้าว่างอย่างน้อย 2 หน้า
- เป็นหนังสือเดินทางที่ออกมานานไม่เกิน 10 ปี
- ยังมีอายุใช้ได้อย่างน้อยอีก 3 เดือน นับจากวันเดินทางออกนอกประเทศสมาชิกเชงเกน - หนังสือเดินทางเล่มเก่า (ถ้ามี)
- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ถ้ามี)
- รูปถ่ายแบบไบโอเมตริก 2 ใบ
รูปถ่ายแบบไบโอเมตริก PDF / 170 KB - แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าเชงเกนที่กรอกข้อความครบถ้วน 1 ฉบับ
แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าเชงเกน
ข้อมูลตามมาตรา 13 และ 14 ระเบียบข้อบังคับ (สหภาพยุโรป) 2016/679 (ระเบียบข้อบังคับพื้นฐานเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูล)
ใบยืนยันรับทราบระเบียบข้อบังคับพื้นฐานเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูล - ลงนามรับทราบข้อกาหนดตามกฎหมายการพำนักในเยอรมนีมาตรา 54 วรรค 2 ข้อ 8 และมาตรา 53
ข้อกฎหมายที่ต้องทราบในการยื่นวีซ่าตามมาตรา 54 วรรค 2 ข้อ 8 และมาตรา 53 ของกฎหมายว่าด้วยการพำนัก PDF / 211 KB - หลักฐานการประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ ระหว่างการเดินทางตลอดระยะเวลาที่ขอพำนัก วงเงินความคุ้มครองไม่ต่่ำกว่า 30,000.-- เหรียญยูโร และต้องรวมบริการนำตัวกลับประเทศในกรณีเจ็บป่วยด้วย ดูรายชื่อบริษัทประกันในประเทศไทยที่สามารถให้บริการประกันแก่ทาน หรือท่านจะทำประกัน ดังกล่าวกับ บริษัทประกันในประเทศเยอรมนีก็ได้เช่นกัน
บริษัทประกันในประเทศไทยที่เป็นที่ยอมรับของสถานทูต PDF / 733 KB
หลักฐานการทำงาน
- สำหรับพนักงาน/ลูกจ้าง: หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หนังสือรับรองการทำงานระบุระยะเวลาที่ลางาน ตำแหน่งงานปัจจุบันและเงินเดือน
- สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ: หลักฐานการเป็นเจ้าของกิจการ (หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท)
สำหรับผู้เยาว์ (อายุต่ากว่า 18 ปี) ที่ไม่ได้เดินทางพร้อมกับผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย
- สูติบัตร
- หลักฐานอำนาจปกครองบุตร (เช่น ทะเบียนสมรส ทะเบียนการหย่า ทะเบียนบ้าน)
- ในกรณีที่ผู้มีอำนาจปกครองไม่มาปรากฏตัวในวันยื่นคำร้อง ต้องยื่นหนังสือยินยอมจากผู้มีอำนาจปกครอง (หนังสือจากหน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอาเภอ หรือศาล โดยต้องใช้เอกสารตัวจริง)
หลักฐานวัตถุประสงค์ในการเดินทางและหลักฐานการเงิน
- ในกรณีที่เจ้าบ้านผู้เชิญเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้สำหรับการพำนักในประเทศกลุ่มสมาชิก: ต้องยื่นหนังสือรับรองค่าใช้จ่ายอย่างเป็นทางการ หนังสือรับรองค่าใช้จ่ายอย่างเป็นทางการ ผู้เชิญสามารถทำหนังสือรับรองได้ที่สำนักงำนตรวจคนเข้าเมืองที่ตนสังกัด ที่ประเทศเยอรมนี ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่:
หนังสือจากผู้เชิญในเยอรมนีที่รับรองค่าใช้จ่ายอย่างเป็นทางการ PDF / 145 KB
หรือ
- หลักฐานการเงินที่แสดงว่าท่านสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยตนเองได้ (ได้แก่ หลักฐานแสดงรายได้ หนังสือรับรองการเงินจากธนาคารและสมุดบัญชีเงินฝาก)
ทั้งนี้ต้องเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าไม่มีการโอนถ่ายทรัพย์สินของบุคคลที่สามมายังท่าน เพียงเพื่อจุดประสงค์ในการยื่นขอวีซ่าเท่านั้น) หลักฐานการเงินส่วนตัวอาจต้องยื่นแสดงด้วย ในกรณีที่สถานะทางการเงินของผู้เชิญของท่านในหนังสือรับรองค่าใช้จ่ายไม่เป็นที่น่าเชื่อถือหรือพิสูจน์ไม่ได้
ในกรณีที่ท่านไม่มีหนังสือเชิญจากเยอรมนีที่รับรองค่าใช้จ่ายอย่างเป็นทางการ หรือบุคคลที่ท่านต้องการเยี่ยมเยียนไม่ใช่ผู้เชิญในเยอรมนีที่รับรองค่าใช้จ่ายให้ท่าน ให้ท่านยื่นเอกสารเพื่อแสดงวัตถุประสงค์ในการเดินทางดังกล่าวเพิ่มเติม:
- จดหมายเชิญของญาติ/คนรู้จัก/แฟน ที่คุณต้องการเยี่ยมเยียน
- สำเนาหนังสือเดินทางของญาติ/คนรู้จัก/แฟน ที่คุณต้องการเยี่ยมเยียน หลักฐานความเชื่อมโยงกับเจ้าบ้าน/ผู้เชิญ: สูติบัตร ทะเบียนสมรส ทะเบียนบ้าน สำเนาหน้าหนังสือเดินทางที่ระบุข้อมูลบุคคล และหลักฐานการเดินทางที่ผ่านมาของผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่่าย –ในกรณีที่มีความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ(แฟน)- หลักฐานการติดต่อกันเป็นลายลักษณ์อักษร หรือ หลักฐานอื่น ๆ เช่น รูปถ่ายคู่กัน (ถ้ามี)
- ในบางกรณี อาจต้องยื่นหลักฐานการถือครองอสังหาริมทรัพย์ (มีชื่อเป็นเจ้าของ) สมุดบัญชีเงินฝาก ทะเบียนสมรส สูติบัตรของบุตร
หรือหลักฐานอื่นๆ ที่แสดงถึงภาระผูกพันหรือความสัมพันธ์ของท่านในประเทศไทย
--
การสงวนสิทธิ์
รายละเอียดในเอกสารฉบับนี้มาจากข้อมูลที่สถานเอกอัครราชทูตฯ มีอยู่ ณ วันที่ออกเอกสาร
สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอสงวนสิทธิ์ปฏิเสธความรับผิดชอบและการเรียกร้องสิทธิ์ใดๆ จากเอกสารฉบับนี้