ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซ์กระทรวงการต่างประเทศ

โครงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม

บทความ

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524รัฐบาลเยอรมันได้สนับสนุน การอนุรักษ์วัตถุและโบราณสถานที่สำคัญยิ่งในประเทศไทย จากงบประมาณโครงการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศเยอรมันได้สนับสนุนการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมต่างๆ ในประเทศไทย อาทิเช่น การอนุรักษ์หนังสือใบลานที่จารึกด้วยลายมือให้เป็นการบันทึกในระบบดิจิตอล

งแต่ปีพ.ศ. 2524รัฐบาลเยอรมันได้สนับสนุน การอนุรักษ์วัตถุและโบราณสถานที่สำคัญยิ่งในประเทศไทย จากงบประมาณโครงการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศเยอรมันได้สนับสนุนการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมต่างๆ ในประเทศไทย อาทิเช่น การอนุรักษ์หนังสือใบลานที่จารึกด้วยลายมือให้เป็นการบันทึกในระบบดิจิตอล

วัดราชบูรณะ
วัดราชบูรณะ © สถานทูตเยอรมนี กรุงเทพฯ

วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรไทย เป็นเวลากว่า 400 ปี และด้วยจังหวัดแห่งนี้มีพระราชวังประวัติศาสตร์และวัดอันทรงคุณค่าเป็นจำนวน มาก ทำให้อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น หนึ่งในมรดกโลกขององค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534

ศาสตราจารย์ฮันส์ ไลเซิ่นจากมหาวิทยาลัยโคโลญจน์
ศาสตราจารย์ฮันส์ ไลเซิ่นจากมหาวิทยาลัยโคโลญจน์ © สถานทูตเยอรมนี กรุงเทพฯ

การอนุรักษ์วัดราชบูรณะเป็นโบราณสถานที่สำคัญในจังหวัดพระ นครศรีอยุธยาเป็นเป้าหมายของหนึ่งในโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมโดยกระทรวงต่าง ประเทศเยอมันในประเทศไทยที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 หลังอุทกภัยปี พ.ศ.2554 ส่งผลให้วัดราชบูรณะจมอยู่ในน้ำนานหลายสัปดาห์และได้สร้างความเสียหายให้กับ ลายสลักปูนปั้นโบราณเป็นอย่างมาก

กรมศิลปากรและสำนักงานยูเนสโกในกรุงเทพฯ ได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับศาสตราจารย์ฮันส์ ไลเซนและทีมงาน – ซึ่งล้วนเป็นอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์จากประเทศเยอรมนี –  ดำเนิน การบูรณะฟื้นฟูวัดราชบูรณะด้วยความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านวัสดุใหม่ล่าสุดที่พัฒนามาเพื่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมทาง ประวัติศาสตร์ที่ได้รับความเสียหายและใกล้สูญหายให้ดำรงอยู่ต่อไป

จากการทำงานของโครงการนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากทั้งประเทศเยอรมนีและประเทศไทย ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านการสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ จัดขึ้นบ่อยครั้ง กระบวนการในการพัฒนาและการทดสอบแนวคิดเพื่อการปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะโดยความ ช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเยอรมันนี้จะเป็นรากฐานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ให้กับผู้เชี่ยวชาญชาวไทยในการอนุรักษ์โบราณสถานในภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป

การบูรณะนี้ใช้เวลาห้าปีด้วยงบประมาณ 520,000 ยูโรจากโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมโดยกระทรวงต่างประเทศเยอมันในประเทศไทย โดยเมื่อวันที่ 28 และ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมาได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการขั้นสุดท้ายและพิธีการส่งมอบวัดราช บูรณะ  โดยมีนายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ (ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม) ดร.สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ (ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา) นายอนันต์ ชูโชติ (อธิบดีกรมศิลปากร) นายปรีชา ขันธไพรศรี (รองนายกเทศมนตรีเทศบาลพระนครศรีอยุธยา) นางสาวสุกัญญา เบาเนิด (ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา) ศาสตราจารย์ฮันส์ ไลเซน และนายเพเทอร์ พรือเกล เอกอัครราชทูตเยอรมันเข้าร่วมในพิธีส่งมอบครั้งนี้ด้วย

เยอรมนีสนับสนุนการอนุรักษ์วรรณกรรมล้านนา

โครงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา
โครงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา © สถานทูตเยอรมนี กรุงเทพฯ

พบกับคัมภีร์ใบลานล้านนาของไทยทางออนไลน์ได้แล้ววันนี้

หอสมุดดิจิทัลล้านนาเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ที่เว็บไซต์ http://lannamanuscripts.net เพื่อให้นักวิจัยและผู้สนใจทั่วไปได้เข้าถึงข้อมูลมหาศาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อันสะท้อนให้เห็นมรดกทางวัฒนธรรมล้านนาเมื่อกว่า 500 ปี หอสมุดดิจิทัลนี้เป็นหอสมุดออนไลน์แห่งแรกที่เปิดให้สาธารณชนได้มีโอกาสเข้า ถึงต้นฉบับงานวรรณกรรมล้านนาของประเทศไทย และเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับวรรณกรรมพื้นบ้านของล้านนา โครงการนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิเฮ็นรี่ ลูซ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียและมูลนิธิแอนดรูว์ ดับเบิ้ลยู เมลลอนและ ดำเนินการโดยหอสมุดแห่งชาติลาว การนำต้นฉบับใบลานมาแปลงเป็นเอกสารดิจิทัลได้รับการสนับสนุนทางการเงิน จากกระทรวงการต่างประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นโครงการที่เริ่มมากว่า 40 ปีที่แล้ว เพื่อช่วยสนับสนุนการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน

คุณค่าแห่งการอนุรักษ์วรรณกรรมล้านนา

ดินแดนล้านนาหรือทางเหนือของประเทศไทย  มีประเพณีวัฒนธรรมและวรรณกรรมที่หลากหลาย ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาวัฒนธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันในภูมิภาค แม้ว่าจะมีแหล่งค้นคว้าปฐมภูมิมากมาย แต่กลับยังไม่มีการค้นคว้าคัมภีร์ใบลานอันทรงคุณค่าเหล่านี้มากเท่าที่ควร เนื่องจากการเข้าถึงที่ยาก นอกจากคัมภีร์เกี่ยวกับพุทธศาสนานิกายเถรวาทแล้ว ยังมีวรรณกรรมท้องถิ่นและคัมภีร์โบราณ เช่น จารึก เอกสารด้านความสัมพันธ์ทางสังคม จารีตประเพณีและชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่เป็นงานที่ไม่ใช่คัมภีร์ทางศาสนา เช่น วรรณกรรม เรื่องเล่า และชาดก ซึ่งอาจมีที่มาจากประเพณีท้องถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอกสารอื่นๆ ได้แก่ เอกสารเกี่ยวกับโหราศาสตร์ เวทย์มนตร์ เทพปกรณัมและพิธีการ ไวยากรณ์และอักษรศาสตร์ หรือกวีนิพนธ์ มหากาพย์ เทพนิยายและนิยายต่างๆ  ต้นฉบับหลายชิ้นเขียนเป็นภาษาไทยเหนือ (ล้านนา) ไทยเขิน ไทยลื้อ ไทยใหญ่ (ฉาน) หรือภาษาพม่าและบาลี 

คัมภีร์เหล่านี้เป็นตัวแทนมรดก 500 ปีของวัฒนธรรมล้านนาที่กระจัดกระจายอยู่ตามวัดวาอารามและหอจดหมายเหตุของรัฐและเอกชนในทุกจังหวัด

ขอบเขตการวิจัยและการอนุรักษ์

โครงการได้ใช้ไมโครฟิล์ม 40 ม้วนเพื่อถ่ายต้นฉบับที่เลือกสรรรวมทั้งสิ้น 1,350 ฉบับ ไมโครฟิลม์ส่วนใหญ่บรรจุข้อเขียนที่ทรงคุณค่า ซึ่งปัจจุบัน ต้นฉบับบางฉบับสูญหายหรือถูกทำลายไปแล้ว และยังรวมผลงานคัดสรรกว่า 25,000 หน้าที่เป็นการทำสำเนาด้วยมือ สองปีต่อมา ทีมวิจัยของศาสตราจารย์ฮุนดิอุส โดยความช่วยเหลือของมูลนิธิการวิจัยเยอรมันจึงสามารถจัดทำบัญชีรายชื่อชั่วคราวและวันเดือนปีของต้นฉบับ  

หลังจากนั้น ระหว่างที่เป็นศาสตราจารย์รับเชิญที่องค์กรแลกเปลี่ยนทางวิชาการเยอรมัน (DAAD) และเป็นที่ปรึกษาวิจัยที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ. ฮุนดิอุสได้ริเริ่มโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานล้านนา (PNTMP) ขึ้น โดยรับงบประมาณสนับสนุนด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมจากกระทรวงการต่างประเทศเยอรมัน  โครงการนี้อยู่ภายใต้การนำของม.ร.ว ดร. รุจิยา อาภากรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2534  ระหว่างนี้ได้มีการบันทึกต้นฉบับแหล่งปฐมภูมิประเพณีล้านนาจากราว 4,200 แหล่งจาก 53 วัดที่คัดเลือกในประเทศไทย ถ่ายลงไมโครฟิล์ม 400 ม้วน โดยที่วัดทั้ง 53 แห่งยังคงเก็บรักษาต้นฉบับไว้ดังเดิม 

เพื่อ ป้องกันการสูญหาย การถ่ายไมโครฟิล์มทั้งหมดดำเนินการในวัด จะไม่นำต้นฉบับใดๆ ออกมา หลังการถ่ายภาพแล้วจะนำคัมภีร์ตัวเขียนอันทรงคุณค่าบรรจุหีบห่ออย่างประณีต และเก็บรักษาไว้ กระบวนการเตรียมและถ่ายไมโครฟิล์มกับเอกสารที่มีความเปราะบางสูง จึงเป็นการดีที่จะฝึกฝนอาสาสมัครท้องถิ่นให้เข้ามาช่วยงาน 

วัน ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงเสด็จเยือนวัดสูงเม่น จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ใบลานโบราณหลายพันฉบับ ระหว่างการเสด็จเยือนเป็นเวลาสองชั่วโมง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงแสดงความสนพระทัยต่อต้นฉบับโบราณในสมัยอาณาจักรล้านนา (ศตวรรษที่ 13-16) และต่อโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี ซึ่งมีเป้าหมายในการอนุรักษ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ และทำให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงเอกสารเหล่านี้ได้ในวงกว้างผ่านทางอินเตอร์ เนต 

กระทรวงการต่างประเทศเยอรมัน ยังให้การสนับสนุนการ ถ่ายไมโครฟิล์มและการแปลงหนังสือตัวเขียนเป็นข้อมูลดิจิทัลปีพ.ศ. 2556 ในความร่วมมือกับสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันทั้งหมดถูกรวบรวมไว้ในหอสมุดดิจิทัลคัมภีร์ใบลานล้านนา 

ส่วน โครงการหอสมุดดิจิทัลสองภาษาไทย-อังกฤษได้รับการสนับสนุนทางการเงินส่วนใหญ่ จากมูลนิธิเฮ็นรี่ ลูซ (นิวยอร์ก) มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียและมูลนิธิแอนดรูว์ ดับเบิ้ลยู เมลลอน โดยมีศาสตราจารย์จัสติน แมคเดเนียลเป็นหัวหน้าโครงการ  ส่วนการดำเนินการโดยหอสมุดแห่งชาติลาว มีศาสตราจารย์ฮุนดิอุสเป็นหัวหน้าโครงการและเดวิด วอร์ตันเป็นผู้อำนวยการด้านเทคโนโลยี  เซิร์ฟเวอร์ของหอสมุดดิจิทัลบริหารโดยหอสมุดแห่งรัฐกรุงเบอร์ลิน เช่นเดียวกับหอสมุดดิจิทัลหนังสือตัวเขียนลาวโดย DFG ในปัจจุบัน  กระทรวงการต่างประเทศเยอรมันยังให้การสนับสนุนการบันทึกคัมภีร์ตัวเขียนตาม วัดต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อให้ข้อมูลที่เผยแพร่ทางออนไลน์มีเพิ่มมากขึ้นๆ

ศาสตราจารย์จัสติน แมคดาเนียล มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย

“การอนุรักษ์ต้นฉบับล้านนาและลาวภาย ใต้การนำของฮาราลด์ ฮุนดิอุสและเดวิด วอร์ตัน ในความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ สถาบันและที่ปรึกษามากมายในลาว ไทย ยุโรป อเมริกาเหนือนั้น  ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งต่อหน้าประวัติศาสตร์ของเอเชียในการอนุรักษ์วัฒนธรรม  ต้น ฉบับตัวเขียนของลาวและล้านนา จารึกต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ล้วนเป็นแหล่งข้อมูลมหัศจรรย์เกี่ยวกับทุกอย่าง ตั้งแต่พฤกษศาสตร์ ไปจนถึงกฎหมาย ศาสนาไปจนถึงวรรณกรรม แพทย์ศาสตร์ พิธีกรรมไปจนถึงพื้นฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นด้านต่างๆ ในฐานะผู้รับผิดชอบเงินอุดหนุนของมูลนิธิเฮ็นรี่ ลูซ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียและมูลนิธิแอนดรูว์ ดับเบิ้ลยู เมลลอน  ข้าพเจ้า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มอบงบประมาณส่วนใหญ่ในช่วงสามปีที่ผ่านมาในการอนุรักษ์และการบันทึก คัมภีร์ใบลานล้านนาในประเทศไทย ข้าพเจ้าขอขอบคุณคุณฮุนดิอุส คุณวอร์ตันและทีมงานทั้งในเวียงจันทน์และเชียงใหม่ รวมทั้งชาวบ้าน สามเณร แม่ชีและพระสงฆ์อีกนับพัน ซึ่งเป็นผู้จารึกหนังสือใบลานเหล่านี้ขึ้นมาในระหว่างศตวรรษที่ 15 และต้นศตวรรษที่ 20 การรวบรวมชุดหนังสือเหล่านี้จะเป็นแหล่งความรู้ที่เข้าถึงง่ายแก่นักศึกษา นักวิชาการและผู้สนใจในวรรณกรรม พุทธศาสนา การเมือง และวัฒนธรรมของภูมิภาคแห่งนี้”

การสนับสนุนจากประเทศเยอรมนี

กระทรวงการต่างประเทศเยอรมัน (Das Auswärtige Amt) มีโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรม มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524 โดยกระทรวงได้ให้เงินสนับสนุนโครงการใน 144 ประเทศ มากกว่า 2,700 โครงการ รวมเป็นเงินประมาณ 65 ล้านยูโร 

โดยมีเป้าหมายจะเสริมสร้างจิตสำนึกของประชาชนในแต่ละประเทศให้มีความรักในเอกลักษณ์ของชาติ  สนับสนุนความร่วมมือด้านวัฒนธรรม โครงการนี้จึงนำผู้เชี่ยวชาญนานาชาติและประชาชนท้องถิ่นให้มาทำงานร่วมกัน เพื่อเป็นการสนับสนุนการศึกษาในท้องถิ่นด้วย 

ใน ส่วนของราชอาณาจักรไทย ตลอดช่วง 35 ปีที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศเยอรมันได้สนับสนุนงบประมาณกว่า 1.4 ล้านยูโรให้แก่โครงการต่างๆ เช่น การบันทึกศิลาจารึกล้านนา การบูรณะปฏิสังขรณ์จิตรกรรมฝาผนังวัดสุทัศน์ การเผยแพร่วรรณกรรมไทย งานสัมมนาเชิงวิชาการหัวข้อเครื่องดนตรี และการให้คำปรึกษาด้านงานเซรามิค ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2530 กระทรวงต่างประเทศเยอรมันยังจัดสรรงบประมาณรวมทั้งสิ้น 850,000 ยูโร เพื่อการอนุรักษ์และการบันทึกคัมภีร์ใบลานล้านนาดิจิทัลในประเทศไทย

ไปด้านบน