ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซ์กระทรวงการต่างประเทศ

คำแนะนำในการขอวีซ่าสำหรับบุตรบุญธรรม/บุตรในปกครองบุญธรรม

บทความ

คำแนะนำในเอกสารฉบับนี้ใช้กับบุตรบุญธรรมซึ่งมีบิดา-มารดาบุญธรรมอาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนีเท่านั้นและได้ดำเนินการรับบุตรบุญธรรมผ่านหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยและประเทศเยอรมนี ตามข้อตกลงร่วมกันของนานาชาติ ณ กรุงเฮกว่าด้วยการรับบุตรบุญธรรม (Haager Adoptionsübereinkommen – HAÜ) หากรับบุตรบุญธรรมในรูปแบบอื่นหรือวิธีอื่น ท่านควรติดต่อสอบถามผ่านทางเว็บไซต์ของสถานทูตฯ (ดูที่ “ติดต่อเรา” และ “แบบฟอร์มตอบรับ”)

ท่านไม่จำเป็นต้องนัดหมายล่วงหน้าและสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ประจำช่องหมายเลข 13 ได้โดยตรง อย่างไรก็ตาม เพื่อท่านจะได้ไม่ต้องเสียเวลารอนาน สถานทูตฯ ขอแนะนำให้ท่านนัดหมายวัน-เวลายื่นคำร้องล่วงหน้าผ่านอีเมลที่ visa@bangk.auswaertiges-amt.de

ในกรณีที่มีหนังสืออนุมัติวีช่าล่วงหน้าจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของเยอรมัน สถานทูตฯ จะใช้เวลาในการออกวีซ่าประมาณ 3-4 วันทำการ

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องขอวีซ่าสำหรับบุตรบุญธรรม จะต้องถ่ายสำเนามาด้วยอย่างละ 2 ชุด ได้แก่:

  • หนังสือเดินทางที่มีอายุการใช้งาน พร้อมสำเนา 2 ชุด (เฉพาะหน้าที่มีข้อมูลส่วนบุคคล) ในบางกรณีอาจต้องหนังสือเดินทางฉบับเก่า
  • รูปถ่ายแบบไบโอเมตริก 2 ใบ
    รูปถ่ายแบบไบโอเมตริก PDF / 170 KB
  • แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าประเภท National Visa ที่กรอกข้อความครบถ้วน 1 ฉบับ
    แบบฟอร์มสำหรับวีซ่าเพื่อการพำนักระยะยาวในประเทศเยอรมนี อิเล็กทรอนิกส์
    ต้องตอบคำถามทุกข้อ โปรดแจ้งโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ พร้อมลงลายเซ็น
    ใบยืนยันรับทราบระเบียบข้อบังคับพื้นฐานเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูล
  • สูติบัตรไทยของเด็ก ในกรณีที่มีฉบับจริง ให้ยื่นฉบับจริงพร้อมสำเนา 2 ฉบับ
    สำคัญ: ในกรณีที่ท่านได้รับสูติบัตรฉบับจริง ทางสถานทูตขอแนะนำให้ท่านแปลเป็นภาษาเยอรมัน และยื่นตรวจสอบรับรองไม่ปลอมแปลง (Legalisation) เนื่องจากท่านจำเป็นต้องใช้เอกสารที่รับรองแล้วนี้สำหรับยื่นกับหน่วยงานในประเทศเยอรมนี (กองหนังสือเดินทาง สำนักทะเบียน)
    สำนักงานแปลในประเทศไทย PDF / 111 KB
    การรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง
  • หนังสืออนุมัติให้เด็กอยู่ในการอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งออกโดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ตัวจริงและสำเนา 2 ชุด
  • คำให้การตามมาตรา 7 ของกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันในเรื่องการรับบุตรบุญธรรม ผนวกกับมาตราที่ 59 ย่อหน้า 1 ข้อ 5 ของกฎหมายสังคม เล่ม 7 (ติดต่อขอดำเนินการได้ที่สำนักงานเยาวชนของรัฐที่เกี่ยวข้อง) ฉบับจริงและสำเนำ 2 ฉบับ
  • หนังสือแนะนำตัวผู้เยาว์จากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
  • หนังสืออนุมัติล่วงหน้าให้ออกวีซ่าได้โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของเยอรมัน ฉบับจริง และสำเนา 1 ฉบับ

ในกรณีที่บุตรบุญธรรมเป็นบุคคลไร้สัญชาติหรือไม่มีสัญชาติไทย สถานทูตฯ ขอให้ท่านติดต่อยื่นคำร้องล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ เนื่องจากการดำเนินการจำเป็นต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ ในบางกรณีอาจต้องยื่นคำร้องขอยกเว้นการมีหนังสือเดินทาง หรือขอให้ออกหนังสือเดินทางแบบใช้เดินทางครั้งเดียวสำหรับบุคคลต่างชาติ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทยของประเทศเยอรมนีเสียก่อน

ไปด้านบน